The Hunger Games Mockingjay Pinกฤติธี หิรัญรัตนธรรม

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

การจัดองค์ประกอบภาพในการถ่ายวีดีโอ

การถ่ายวีดีโอหรือถ่ายรูปสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือเรื่ององค์ประกอบของภาพ ซึ่งประกอบไปด้วยความสมดุล (balance), สัดส่วนของภาพ (perspective), รูปร่าง (shape) และรูปแบบ (form) ซึ่งเป็นส่วนประกอบในภาพ ในแต่ละช็อตของการถ่ายวีดีโอควรจะคำนึงถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆที่ได้กล่าวมา โดยเราอาจจะใช้ความคิดสร้างสรรค์เพิ่มเติมลงไป เพื่อทำให้ภาพที่ได้ดูสวยงามมากยิ่งขึ้น

A. การจัดองค์ประกอบของวัตถุที่อยู่นิ่ง (Stationary Subjects)
แนะนำการจัดองค์ประกอบภาพของวัตถุที่อยู่นิ่ง เช่น อาคารสถานที่ วิวทิวทัศน์
Framing (กรอบของภาพ)
รูปแบบของกรอบการแสดงผลจะมีอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบ 16:9 Widescreen และแบบ 4:3 TV screen ซึ่งจะขึ้นอยู่กับว่าเราตั้งค่าในกล้องถ่ายวีดีโอไว้เป็นแบบไหน ถ้าเราถ่ายวีดีโอมาแบบ 16:9 เราสามารถใช้ software ที่ใช้ในการตัดต่อวีดีโอช่วยแปลงขนาดของกรอบให้เป็น 4:3 ได้ โดยขอบบางส่วนจะถูกตัดออกไป เราสามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการหากรอบให้ภาพได้ เช่น หน้าต่าง ประตู หรืออาจจะเป็นหน้าจอ LCD สามารถใช้เป็นกรอบในการถ่ายวีดีโอได้
กฎสามส่วน (Rule of Thirds)
เหมาะสำหรับการถ่ายวีดีโอประเภทวิวทิวทัศน์ เป็นการแบ่งภาพในแนวนอนออกเป็นสามส่วนเท่าๆกัน ถ้าเราต้องการถ่ายวีดีโอเน้นท้องฟ้าก็แบ่งพื้นที่ให้ท้องฟ้า 2 ส่วน เหลือพื้นที่สำหรับพื้นดิน 1 ส่วน ถ้าเราต้องการถ่ายวีดีโอเน้นพื้นดินก็ให้ทำตรงกันข้ามกัน 
จุดตัดเก้าช่อง
ให้เราขีดเส้นในแนวตั้งและแนวนอนอย่างละ 2 เส้นในภาพ จะเกิดช่องทั้งหมด 9 ช่องและจะได้จุดตัดทั้งสิ้น 4 จุด โดยทั้ง 4 จุดนั้นเป็นตำแหน่งที่วางวัตถุหลักลงไปในภาพแล้ว จะทำให้ภาพนั้นดูดี น่าสนใจ ไม่แข็งจนเกินไป
มุมมองของภาพ (Viewpoint )

การถ่ายวีดีโอเพื่อที่จะสื่อถึงอารมณ์ความรู้สึกของภาพที่แตกต่างกัน เราจะอาศัยมุมมองของภาพเป็นตัวสื่อความหมาย โดยเราจะใช้ทักษะในการถือกล้องวีดีโอเป็นตัวควบคุมการถ่ายวีดีโอในมุมต่างๆ หรือเราอาจจะใช้วัตถุวางไว้อยู่ที่ตำแหน่งต่างๆกัน เพื่อที่จะทำให้ภาพดูแล้วเกิดมิติของภาพ เรามาลองดูตัวอย่างมุมมองของภาพกัน
1) การถ่ายวีดีโอมุมสูง (Birds-eye-view)
วิธีการถ่ายวีดีโอมุมสูงอาจจะใช้วิธียกกล้องวีดีโอไว้บนศีรษะ หรืออาจจะยืนบนเก้าอี้ บันได ในการรับถ่ายวีดีโองานแต่งงานจะใช้วิธีนี้มากในช่วงพิธีเดินขบวนขันหมาก เพราะว่าถ้าเรายืนถ่ายวีดีโอด้วยมุมปกติ คนที่ยืนถือของอยู่ด้านหลังจะมองไม่เห็นเพราะถูกบัง ประโยชน์ในการถ่ายวีดีโอมุมสูง คือ ช่วยเปิดเผยรายละเอียดต่างๆในภาพ และประโยชน์อีกอย่างหนึ่งก็คือ ในกรณีที่ฉากหลังของเราค่อนข้างรก เราอาจจะใช้วิธีนี้ถ่ายวีดีโอเพื่อเลี่ยงฉากหลัง
2) การถ่ายวีดีโอมุมต่ำ (Worms-eye-view)

วิธีการถ่ายวีดีโอมุมต่ำอาจจะใช้วิธีย่อเข่า นั่งลง หรือนอนถ่ายวีดีโอ การถ่ายวีดีโอในมุมต่ำจะทำให้วัตถุที่ถูกถ่ายดูมีพลังมากขึ้น น่าเกรงขาม ในการรับถ่ายวีดีโองานแต่งงานเราจะใช้วิธีนี้ถ่ายวีดีโอตอนที่คู่บ่าวสาวเดินเข้าพิธีในงาน ซึ่งจะทำให้ภาพที่ออกมาดูแล้วเปรียบเสมือนความรักของทั้งคู่ดูยิ่งใหญ่ อลังการ
การเปลี่ยนแปลงความยาวโฟกัส (Focal Length)
การถ่ายวีดีโอโดยใช้ความยาวโฟกัสที่แตกต่างกันจะทำให้องค์ประกอบของภาพที่ได้แตกต่างกัน เช่น การถ่ายวีดีโอด้วยความยาวโฟกัสสั้น (Wide angle) จะทำให้เห็นองค์ประกอบต่างๆในภาพมากขึ้น แต่จะเกิดการบิดเบี้ยวของภาพที่บริเวณขอบของภาพ ส่วนการถ่ายวีดีโอด้วยความยาวโฟกัสยาว (Telephoto) จะทำให้เห็นองค์ประกอบของภาพน้อยลง แต่เมื่อเราถ่ายวัตถุจะทำให้ฉากหลังของวัตถุหลุดโฟกัสไป (หลังละลาย) ซึ่งจะทำให้วัตถุดูเด่นยิ่งขึ้น ในการรับถ่ายวีดีโองานแต่งงานเราจะถ่ายวีดีโอด้วยความยาวโฟกัสสั้นกับพวกอาคารสถานที่ สิ่งตกแต่งประดับประดา การถ่ายรูปหมู่หน้าซุ้ม ส่วนการถ่ายวีดีโอแบบ Telephoto เราจะใช้ถ่ายแบบ candid คือ การแอบถ่ายเพื่อเก็บอารมณ์ของคน

B. จัดองค์ประกอบของวัตถุเคลื่อนที่ (Movement Subjects)
Walking Room
เมื่อเราถ่ายวีดีโอวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ด้วยการแพน เราควรเหลือพื้นที่ว่างในทิศทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปด้านหน้ามากกว่าพื้นที่ด้านหลัง เพื่อที่จะสื่อความหมายว่าวัตถุกำลังเคลื่อนที่ไปข้างหน้าต่อไป วิธีการถ่ายวีดีโอ คือ เริ่มต้นแพนกล้องถ่ายวีดีโอ โดยให้เหลือพื้นที่ว่างประมาณ 2 ใน 3 ในทิศทางที่วัตถุกำลังเคลื่อนที่ไปช้างหน้า พอถึงตำแหน่งที่ต้องการแล้วให้เราหยุดแพนและปล่อยให้วัตถุเคลื่อนที่หลุดเฟรมออกไป
Head Room

ในการถ่ายวีดีโอบุคคล เราไม่ควรวางตำแหน่งของศีรษะคนไว้ตำแหน่งตรงกลางของเฟรม เพราะจะทำให้องค์ประกอบของภาพขาดความสมดุลเนื่องจากมีพื้นที่ว่างมากเกินไประหว่างศีรษะของคนกับขอบบนของเฟรม เราควรจะเหลือพื้นที่ว่างซักเล็กน้อย
Looking Space

การถ่ายวีดีโอที่หยุดนิ่งอยู่กับที่ เราควรเว้นที่ว่างด้านหน้าในทิศทางที่คนมองออกไป จะทำให้ภาพดูสบายตา ไม่อึดอัด และเป็นการสื่อความหมายว่าผู้พูดกำลังมองอะไรบางอย่างอยู่
Shot Size

เราสามารถถ่ายวีดีโอโดยการจัดองค์ประกอบภาพได้หลายรูปแบบ ซึ่งขนาดของแต่ละช็อตจะสื่อความหมายที่แตกต่างกัน เรามาลองดูว่ามีช็อตแบบไหนบ้าง
Long Shot (LS) – เปิดเผยบรรยากาศของภาพอย่างกว้างๆ ให้เห็นว่าในบริเวณนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง มีการทำกิจกรรมอะไรอยู่
Medium Shot (MS) – การถ่ายวีดีโอคนตั้งแต่เอวขึ้นไป
Close-up Shot (CU) – การถ่ายวีดีโอคนตั้งแต่หน้าอกขึ้นไป เพื่อแสดงอารมณ์ความรู้สึกของคนนั้นๆ
Big Close-up Shot (BCU) – การถ่ายวีดีโอคนตั้งแต่คางขึ้นไปจนถึงหน้าผาก เพื่อเน้นอารมณ์ความรู้สึกของคนในภาพมากขึ้น
ข้อควรระวัง

- หลีกเลี่ยงการถ่ายวีดีโอบุคคลที่ตัดภาพตรงตำแหน่งข้อต่อต่างๆ เช่น ข้อเท้า หัวเข่า ข้อศอก
– การถ่ายวีดีโอคนควรจะคำนึงถึงฉากหลังด้วย เพราะถ้าฉากหลังมันดูรก จะทำให้คนดูไม่โดดเด่น
ที่มา:http://www.xn--l3cdl7ac1a7b0al6ab0nxc.com/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/

แนวคิดในการสร้างงาน VDO

ก่อนที่จะลงมือถ่ายทำและตัดต่อสร้างงานวิดีโอ เราควรจะวางแผนการทำงานเสียก่อน ซึ่งในส่วนนี้ขอแนะนำแนวคิดในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการ ไม่ต้องมาแก้ไขในภายหลัง โดยมีลำดับแนวคิดในการสร้างสรรค์งานวิดีโอเบื้องต้น ดังนี้
         ขั้นตอนที่ 1 การเขียน Storyboard
        การเขียน Storyboard คือ การจินตนาการฉากต่างๆ ขึ้นมาก่อนที่จะไปถ่ายทำจริง    เพื่อจะทำให้ฉากและภาพที่มีองค์ประกอบต่างๆ ตรงตามความต้องการมากที่สุด และเพื่อป้องกันการตกหล่นในระหว่างทำ   เพราะถ้าถ่ายซ่อมทีหลังจะไม่สะดวก   
         ขั้นตอนที่ 2 เตรียมองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องใช้
       การทำงานวิดีโอจะเป็นต้องเตรียมองค์ประกอบต่างๆ ตั้งแต่ไฟล์วิดีโอ ไฟล์เสียงดนตรีให้พร้อม เพื่อช่วยให้การทำงานรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยมีแหล่งต่างๆ ดังนี้
       - ไฟล์วิดีโอจากภาพยนตร์ หรือสารคดี ข่าว
       - การถ่ายทำวิดีโอเอง
       - การเตรียมไฟล์เสียงและบรรยาย
        ขั้นตอนที่ 3 การตัดต่อวิดีโอ (ให้สอดคล้องกับ StoryBoard ที่วางไว้)
       เป็นการนำองค์ประกอบต่างๆ ที่เตรียมไว้มาตัดต่อเป็นงานวิดีโอ งานวิดีโอ งานวิดีโอจะออกมาดีน่าสนใจเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับการตัดต่อเป็นสำคัญ ซึ่งจะกล่าวในบทต่อๆ ไป
        ขั้นตอนที่ 4 ใส่เอ็ฟเฟ็กต์/ตัดต่อเสียง
       ก่อนที่จะจบขั้นตอนการตัดต่อ เราควรตกแต่งงานวิดีโอด้วยเทคนิคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นสี การใส่ข้อความหรือเสียงดนตรี  ซึ่งจะช่วยทำให้งานของเรามีสีสัน และน่าติดตามมากขึ้น

        ขั้นตอนที่ 5  แปลงวิดีโอ เพื่อนำไปใช้งานจริง

ที่มา:https://drive.google.com/a/srp.ac.th/file/d/0B_vRp8_p77SmVDhrREFZMXlzZVU/view
    มาตรฐานการแพร่ภาพวีดีโอ
                มาตรฐานการแพร่ภาพทั้งสาม ได้แก่ NTSC, PAL และ SECAM เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันในหลายพื้นที่ทั่วโลก และได้มีการพัฒนามาตรฐานใหม่ขึ้นมา เรียกว่า “HDTV (High-Definition Television” ทำให้ผู้ผลิตมัลติมีเดียจำเป็นที่จะต้องทราบถึงมาตรฐานที่ใช้งานในแต่ละพื้นที่อย่างเหมาะสม
                - National Television System Committee (NTSC) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตั้งมาตรฐานที่เกี่ยวกับโทรทัศน์และวีดีโอในสหรัฐ มาตรฐานนี้เป็นการเข้ารหัสข้อมูลแบบสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์  กำหนดให้สร้างภาพด้วยเส้นในแนวนอน 525 เส้นต่อเฟรม ในอัตรา 30 เฟรมต่อวินาที มีสี 16 ล้านสีที่แตกต่างกันและอัตรารีเฟรช เป็น 60 Halt-Frame(Interlace) ต่อวินาที แต่บนจอภาพคอมพิวเตอร์นั้นจะใช้วิธีการที่เรียกว่า “Progressive-Scan” ซึ่งมีความแตกต่างจากจอภาพโทรทัศน์ตรงที่สามารถสร้างภาพเป็นแบบเฟรมต่อเฟรม โดยไม่มีการ Interlacing
                - Phase Alternate Line (PAL) เป็นมาตรฐานของโทรทัศน์และวีดีโอที่นิยมในแถบยุโรป รวมถึงไทยด้วย เป็นการสร้างภาพจากแนวนอน 625 เส้นต่อเฟรม ในอัตรา 25 เฟรมต่อวินาทีและทำการแสดงภาพด้วยวิธี Interlacing เช่นกันแต่จะแสดงภาพในอัตรารีเฟรช เป็น 50 Halt-Frame ต่อนาที
                - Sequential Color and Memory (SECAM) เป็นมาตรฐานของการแพร่สัญญาณโทรทัศน์และวีดีโอที่ใช้กันในฝรั่งเศส ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง และประเทศในพื้นที่ใกล้เคียง ทำการแพร่สัญญาณแบบอนาลอก ส่วนการสร้างภาพจะเป็น 819 เส้น ด้วยอัตรารีเฟรช 25 เฟรมต่อวินาที ซึ่งจะแตกต่างจากมาตรฐาน NTCS และ PAL ในเรื่องการผลิต วิธีการแพร่ภาพออกอากาศ และจากสาเหตุที่ระบบนี้ไม่แตกต่างจากระบบ PAL มากนัก เครื่องรับโทรทัศน์ในยุโรปจึงทำการพัฒนาให้สามารถใช้งานได้ทั้งระบบ PAL และ SECAM

- High Definition Television (HDTV) เป็นเทคโนโลยีของการแพร่ภาพโทรทัศน์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อแสดงภาพที่มีความละเอียดสูง คือ 1280x720 ซึ่งเป็นความละเอียดสำหรับการแสดงภาพเช่นเดียวกับโรงภาพยนต์ แต่ในขณะพัฒนานั้นได้มีการโต้เถียงกันระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมโทรทัศน์กับกลุ่มอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ว่าจะใช้ความละเอียดจอภาพเป็น1920x1080 พิกเซล หลังจากนั้นสรุปได้ว่า ความละเอียดนี้ไม่เหมาะสม ดังนั้นมาตรฐาน HDTV จึงได้กำหนดให้มีความละเอียดของจอภาพเป็น 1280x720

ที่มา:https://drive.google.com/a/srp.ac.th/file/d/0B_vRp8_p77SmVDhrREFZMXlzZVU/view
         ลักษณะการทำงานของวีดีโอ

                กล้องวีดีโอเป็นการนำเอาหลักการของแสงที่ว่า “แสงตกกระทบกับวัตถุแล้วสะท้อนสู่เลนส์ในดวงตาของมนุษย์ทำให้เกิดการมองเห็น” มาใช้ในการสร้างภาพร่วมกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ โดยภาพที่ได้จะถูกบันทึกเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า “สัญญาณอนาลอก” ประกอบด้วยข้อมูลสี 3 ชนิด คือ แดง เขียว น้ำเงิน (Red, Green, Blue :สีRGB) และสัญญาณสำหรับเชื่อมความสัมพันธ์ของข้อมูล (Synchronization Plus : สัญญาณ SYNC) สัญญาณวีดีโอจะถูกส่งไปบันทึกยังตลับวีดีโอ (Video Cassette Recorder : VCR) โดยการแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เป็นสัญญาณดิจิตอลและบันทึกลงบนอุปกรณ์บันทึกข้อมูลด้วยหลักการของสนามแม่เหล็กการบันทึกจะต้องบันทึกผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า “หัวเทปวีดีโอ” ที่สามารถบันทึกได้ทั้งภาพ เสียง และข้อมูลควบคุมการแสดงภาพ นอกจากบันทึกเป็นม้วนเทปวีดีโอแล้วยังสามารถบันทึกในรูปของสัญญาณวิทยุได้อีกด้วยโดยอาศัยNTSC, PAL รือ SECAM เพื่อช่วยในการส่งสัญญาณให้สามารถแพร่ภาพทางโทรทัศน์ได้

ที่มา:https://drive.google.com/a/srp.ac.th/file/d/0B_vRp8_p77SmVDhrREFZMXlzZVU/view
      ชนิดของวิดีโอ
 วิดีโอที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
                1. วิดีโออะนาลอก (Analog Video) เป็นวีดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงให้อยู่ในรูปของสัญญาณอนาลอก (รูปของคลื่นสำหรับวีดีโอประเภทนี้ เช่น VHS (Video Home System) ซึ่งเป็นม้วนเทปวีดีโอที่ใช้ดูกันตามบ้าน เมื่อทำการตัดต่อข้อมูลของวีดีโอชนิดนี้ อาจจะทำให้คุณภาพลดน้อยลง


                2. วีดีโอดิจิตอล (Digital Video)  เป็นวีดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงที่ได้มาจากกล้องดิจิตอล ให้อยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอล คือ 0 กับ 1 ส่วนการตัดต่อข้อมูลของภาพและเสียงที่ได้มาจากวีดีโอดิจิตอลนั้น จะแตกต่างจากวีดีโออนาลอก เพราะข้อมูลที่ได้จะยังคงคุณภาพความคมชัดเหมือนกับข้อมูลต้นฉบับ การพัฒนาของวีดีโอดิจิตอลส่งผลให้วีดีโออนาลอกหายไปจากวงการมัลติมีเดีย เนื่องจากสัญญาณดิจิตอลสามารถที่จะบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี หรืออุปกรณ์บันทึกข้อมูลอื่น ๆ และสามารถแสดงผลบนคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการผลิตมัลติมีเดียบนคอมพิวเตอร์ สามารถเปลี่ยนรูปแบบของสัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอลได้ เพียงแต่ผู้ผลิตมีทรัพยากรทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมเท่านั้น
ที่มา:https://drive.google.com/a/srp.ac.th/file/d/0B_vRp8_p77SmVDhrREFZMXlzZVU/view
                                              ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ VDO
               
                วิดีโอเป็นองค์ประกอบของมัลติมีเดียที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากวิดีโอในระบบดิจิตอลสามารถนำเสนอข้อความหรือรูปภาพ (ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว) ประกอบกับเสียงได้สมบูรณ์มากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักของการใช้วิดีโอในระบบมัลติมีเดียก็คือ การสิ้นเปลืองทรัพยากรของพื้นที่บนหน่วยความจำเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการนำเสนอวิดีโอด้วยเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real-Time) จะต้องประกอบด้วยจำนวนภาพไม่ต่ำกว่า 30 ภาพต่อวินาที(Frame/Second) ถ้าหากการประมวลผลภาพดังกล่าวไม่ได้ผ่านกระบวนการบีบอัดขนาดของสัญญาณมาก่อน การนำเสนอภาพเพียง 1 นาทีอาจต้องใช้หน่วยความจำมากกว่า 100 MB ซึ่งจะทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่เกินขนาดและมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ด้อยลง ซึ่งเมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถบีบอัดขนาดของภาพอย่างต่อเนื่องจนทำให้ภาพวิดีโอสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและกลายเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบมัลติมีเดีย  (Multimedia System)
ที่มา:https://drive.google.com/a/srp.ac.th/file/d/0B_vRp8_p77SmVDhrREFZMXlzZVU/view